วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน Nan National Museum

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน  Nan National Museum จ.น่าน

หรือ หอคำ เป็นอาคาร 2ชั้น ด้านหน้ามีมุขเป็นทางเข้าออกอาคาร สถาปัตยกรรมไทยผสมตะวันตก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2446 โดย พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (พระเจ้าน่าน องค์ที่63) เพื่อใช้เป็นที่ประทับ
เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าผู้ครองเมืองน่านองค์สุดท้าย องค์ที่64) ซึ่งปกครองเมืองน่านต่อจากพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัย ทายาทเจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้มอบหอคำหลังนี้ให้แก่ราชการ เพื่อใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ.2475
ต่อมารัฐบาลได้สร้างศาลากลางจังหวัดน่านขึ้นใหม่ จึงได้มอบอาคารหลังนี้ให้แก่กรมศิลปากรเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เมื่อปี พ.ศ.2528 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.2528
สิ่งที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ประกอบด้วย เรื่องราวประเพณี วัฒนะธรรม ความเชื่อ และการเป็นอยู่ของชาวเมืองน่านในอดีต และสิ่งสำคัญของสถานที่นี้คือ งาช้างดำ ซึ่งถือเป็นปูชนียวัตถุคู่เมืองน่าน

การเดินทางเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน


พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (เจ้าสุริยะ ณ น่าน)
เป็นโอรสในเจ้าอนันตวรฤทธิเดชและแม่เจ้าสุนันทา ทรงสร้างประโชน์ให้กับเมืองน่านเ็ป็นอย่างมาก ทั้งการปกครองและการทหาร ตลอดจนการบำรุงพระศาสนา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดเกล้าให้สถาปนาเป็น พระเจ้านครน่าน


วัดภูมินทร์

  วัดภูมินทร์ อยู่ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่านนอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมาตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2319 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้น หลังจากขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปีปรากฎในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์ " ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดั้งกล่าวความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยคือเป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข (กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัวตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั้งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกันภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้านและความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต

 


 

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

ที่ตั้งและแผนที่
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
ตู้ ปณ.14 อ. นาน้อย จ. น่าน 55150
โทรศัพท์ : 0 5470 1106 โทรสาร : 0 5470 1106

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายก้องไมตรี เทศสูงเนิน

อุทยานแห่งชาติศรีน่านมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของประชาชนในจังหวัดน่าน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหลายอย่าง และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามได้แก่ เสาดินและคอกเสือ ปากนาย แก่งหลวง จุดชมทิวทัศน์ดอยผาชู้ ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ มีเนื้อที่ประมาณ 640,237.50 ไร่ หรือ 1,024.38 ตารางกิโลเมตร

ในปี 2535 ได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2532 ให้นายสมบัติ เวียงคำ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ปฏิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ป่าสาลีก ป่าน้ำสา และป่าแม่สาครฝั่งซ้าย ป่าห้วยแม่ขะนิง และป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนบน ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 435 ตารางกิโลเมตร หรือ 271,875 ไร่ และได้มีคำสั่งที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้สำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้ใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติแห่งนี้ตามชื่อป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารและประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันว่า “อุทยานแห่งชาติแม่สาคร” และใช้อักษรย่อว่า ที่ กษ 0713 (มสค) /..ตามหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0713/674 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2533

กรมป่าไม้ได้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้ นายสมบัติ เวียงคำ ไปสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำสา-ป่าแม่สาครฝั่งซ้าย ป่าห้วยแม่ขนิงและป่าน้ำสาฝั่งขวาตอนบน ท้องที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เพื่อประกาศกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อมาอุทยานแห่งชาติแม่สาครได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713(มสค)/33 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2534 ว่า เห็นสมควรได้สำรวจเพิ่มเติมจากพื้นที่เดิมคือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี และป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ท้องที่อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713.2/1568 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2534 อนุมัติให้ทำการสำรวจเพิ่มเติมพื้นที่ป่าดังกล่าว พร้อมทั้งมีหนังสือจังหวัดน่าน ที่ นน 0009/5857 ลงวันที่ 19 เมษายน 2536 สนับสนุนให้จัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมา นายผ่อง เล่งอี้ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้อนุมัติให้จัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0712.03/47 ลงวันที่ 12 มกราคม 2537 เรื่อง การจัดตั้งอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ซึ่งพื้นที่ที่ทำการสำรวจเพิ่มมีเนื้อที่ประมาณ 934 ตารางกิโลเมตร หรือ 583,750 ไร่ โดยให้กันพื้นที่ที่ราษฎรที่ได้ยึดถือครอบครองเป็นหมู่บ้านใหญ่ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน เนื่องจากมีการสำรวจเพิ่มเติมและได้ย้ายที่ทำการอุทยานแห่งชาติใหม่ ทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่น จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตามหนังสือส่วนอุทยานแห่งชาติ ที่ กษ 0712.3/47 ลงวันที่ 12 มกราคม 2537

ต่อมาปี 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี่ ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ และป่าห้วยงวงและป่าห้วยสาลี่ ในท้องที่ตำบลขึ่ง ตำบลส้าน ตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ ตำบลสถาน อำเภอนาน้อย และตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 25 ก ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 104 ของประเทศ




วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองน่าน อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 94 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 มีเนื้อประมาณ 1,065,000 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดน่าน คือ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม และอำเภอบ่อเกลือ ครอบคลุมบริเวณเทือกเขาดอยภูคา มีจุดสูงสุดคือยอดดอยภูคาที่สูง 1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์ ป่าดึกดำบรรพ์ น้ำตกต้นตอง น้ำตกภูฟ้า น้ำตกวังเปียน พิชิตยอดดอยภูแว ชมถ้ำยอดวิมาน และถ้ำผาฆ้อง
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทือกเขาสูงสลับซับซ้อน โดยมีพื้นที่ราบอยู่รอบ มียอดดอยภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย

ลักษณะภูมิอากาศ

แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียส กลางคืนเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเชลเชียส
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มีฝนตกชุก
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ โดยในเดือนธันวาคม - มกราคม จะมีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส

 การเดินทาง

จากอำเภอเมืองน่านถึงอำเภอปัว ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากอำเภอปัวถึงที่ทำการอุทยานฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว - บ่อเกลือ) ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร

 หน่วยงานในพื้นที่

  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 1 (ห้วยโก๋น)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ ภค 2 (น้ำตกแม่จริม)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 3 (น้ำปูน)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 4 (ขุนน้ำแนะ)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 5 (ห้วยโป่ง)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 6 (นากอก)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 7 (น้ำอวน)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 8 (ภูแว)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 9 (บ้านด่าน)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 10 (ดอยผาผึ้ง)
  • หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 11 (น้ำยาว)
  • ไฟล์:Bretschneidera sinensis Hemsl BRETSCHNEIDERACEAE 02.JPG ชมพูภูคา Bretschneidera sinensis Hemsley พันธุ์ไม้หายากที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย ดอกจะบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม
ไฟล์:Baan Kwian 02.jpg
ลานกางเต็นท์บริเวณบ้านเกวียน
ไฟล์:Acer wilsonii Rehder.JPG
ก่วมภูคาหรือเมเปิ้ลภูคา พืชที่พบแห่งเดียวในประเทศไทย

ประวัติเมืองน่าน

สมัยเมืองล่าง-วรนคร

เจ้าหลวงภูคา ปฐมเจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา
ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคาและนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสองเป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คนอพยพมาตั้งศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่างบริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุดคือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยวมีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดินบนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คนไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่างและมอบให้ชายาคือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย
ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัวได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมืองได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลจึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัวลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง (มวลสารจากพระธาตุแช่แห้งใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย (มวลสารจากพระธาตุเขาน้อยใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร


สมัยล้านนา
ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าวไม่อาจต้านทานได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนามาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล (มวลสารจากวัดสวนตาลใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344

 สมัยรัตนโกสินทร์

ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา หลังจากขึ้นเจ้าอัตถวรปัญโญก็ยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียวเนื่องจากเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) จนกระทั่งหลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านพร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่านในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่านต่างได้อุปถัมภ์ค้ำจุนและทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่านเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่าง ๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน อดีตเคยเป็นหอคำของเจ้าผู้ครองนครน่านในอดีต
ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้านครน่าน มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำมีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่าง ๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จ หรือขบวนรับแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ. 2474 เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่านได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านจนกระทั่งปัจจุบัน
ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้างเป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง